สืบเนื่องจากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ OBEM ในวิชา CHE492 Coffee Processing เมื่อปีการศึกษา 2565 นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการผลิตกาแฟ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในเรื่องการแปรรูปกาแฟตามเทคนิคต่าง ๆ ทั้งยังได้เข้าใจปัญหาของเกษตรกร และนักศึกษาสามารถแสดงความสามารถตามผลลัพธ์การเรียนรู้ได้
ในปีการศึกษา 2566 สำนักงานฯ จึงได้เปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ OBEM ในรายวิชา CHE493 Climate Change and Mitigation โดยสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบรรเทาผลกระทบ ซึ่งเป็นประเด็นในระดับโลก ทางสำนักงานฯ ได้วางแผนการดำเนินกิจกรรมให้แก่นักศึกษาให้ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และศึกษาดูงานในพื้นที่จริง โดยกิจกรรมนี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 – 13 มกราคม 2567 ณ พื้นที่เรียนรู้แถบชายฝั่งทะเล จ.ชุมพร จ.ตรัง และ จ.นครศรีธรรมราช
ก่อนการลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักศึกษาได้เรียน Lecture และฟังการบรรยายในหัวข้อ “Climate Change and Life Cycle Assessment: LCA” เพื่อการคำนวณการเกิดคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ จาก Prof.Dr.Shabbir H. Gheewala ศาตราจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ.


และนักศึกษาได้รับฟังการบรรยายด้านพลังงานชุมชน จาก ผศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยบูรณาการระบบพลังงานสะอาด (Clean Energy Systems Integration Laboratory: CESi) มจธ. ในเรื่องการพัฒนาและต่อยอดการสร้างกังหันน้ำคีรีวง จากคุณลุงส่อง บุญเฉลย ผู้ริเริ่มสร้างกังหันน้ำและปราชญ์ชาวบ้าน ที่สร้างกังหันน้ำจากโครงซี่ล้อจักรยานกับกระป๋องนมใช้แทนใบพัด เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในที่พักบนภูเขาของหมู่บ้านคีรีวง อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช โดย CESi ได้นำกังหันน้ำมาต่อยอดและพัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งนักศึกษาได้ดูต้นแบบกังหันน้ำทั้งสองแบบที่ทางศูนย์ ฯ ได้พัฒนาขึ้น
ในวันที่ 6 ม.ค. 67 ออกเดินทางจากภาควิชาวิศวกรรมเคมี มจธ. มุ่งสู่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายศุภกานต์ ชัยโชติรานันท์ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ มาให้ความรู้แก่นักศึกษา เกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์ ปลานวลจันทร์ทะเล นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงหอยมือเสือ และการอนุบาลหอยมือเสือ ซึ่งอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิและความเค็มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ จากนั้นนักศึกษาได้ไปเดินชมบ่อเพาะเลี้ยงของสัตว์ทะเลต่างๆ เช่น หอยเป๋าฮื้อ ปลาดาว เม่นทะเล และปลิงทะเล เป็นต้น





หลังจากนักศึกษาได้ไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลแล้ว ยังได้เดินทางไปที่ ชุมพรคาบาน่า จ.ชุมพร เพื่อไปทำกิจกรรมฐาน Workshop การทำไอติมกะทิ โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำไอติมกะทิ และการคำนวณวัฏจักรของผลิตภัณฑ์(Life Cycle Assessment: LCA) ของการทำไอติมกะทิ ว่าในการ serve หนึ่งครั้งมีการใช้ปริมาณคารบอนไดออกไซดเทาไหรโดยตองหาขอมูลวาคา EF (GHGs Emission Factor: EF) ของวัตถุดิบหรือสิ่งที่เรา input เขาไปมีคาเทาไร แลวคำนวณปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา นอกจากนี้ยังไดเรียนรูวิธีขั้นตอนของกระบวนการทำไอติมกะทิ ในรูปแบบ flowchart เพื่อวิเคราะหขอมูล และหาค่าปริมาณคารบอนไดออกไซด์ที่ออกมาโดยใช้การประยุกต์จากโปรแกรม Excel
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การคำนวณ LCA มีประโยชน์ที่หลากหลายนอกจากทำให้ทราบปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น ลดการใช้วัตถุดิบ พลังงาน ของเสีย จึงสามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของภาครัฐ สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย และสุดท้ายในภาคประชาชน สามารถใช้ประโยชน์จาก LCA เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลือกซื้อสินค้าเพื่อสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมได้



ในวันที่ 7 ม.ค. 67 ได้ออกเดินทางไปวิสาหกิจท่องเที่ยว ชุมชนบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนหมู่บ้านมดตะนอย ที่มีวิถีประมงที่เรียบง่าย จากการพูดคุยกับคนในชุมชม ทำให้นักศึกษาเห็นถึงปัญหาต่างๆ เช่น ชาวประมงบางคนยังมีการจับปูที่มีไขไปขายเนื่องจากมีราคาสูง การกัดเซาะชายฝั่ง หรือลมมรสุมที่เขามาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ถี่ขึ้นในปจจุบัน ทำใหบานเรือนเสียหาย บางครั้งน้ำทะเลขึ้นจนถึงที่อยูอาศัยทำใหตองยาย และมีการทิ้งขยะไมเปนที่ในชุมชน ทั้งขยะจากการประมงอยางเศษซากอวน ลอก และแหตางๆ ขยะเหล่านี้มีอายุการใชงานที่มาก ทำใหขยะเพิ่มพูนขึ้น คนในชุมชนจึงมี นโยบายลดการใช้โฟมและพลาสติก การทำประมงที่ถูกกฎหมาย และกิจกรรมอนุรักษ์มากมาย ทั้งปะการังเทียม ธนาคารปู และการเพาะหญ้าทะเล ที่จะทำให้ธรรมชาติอิงอาศัยอยู่กับเรานานขึ้น




ในวันที่ 8 ม.ค. 67 นักศึกษาไปดูงานที่ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เพื่อเรียนรู้ และศึกษากระบวนการผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องพร้อมทาน ซึ่งโรงงานปลากระป๋องปุ้มปุ้ยเป็นโรงงานผลิตปลากระป๋องระดับแถวหน้าของเมืองไทย มียอดขายจำนวนมากทั้งในประเทศไทยเอง และต่างประเทศ โดยโรงงานได้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีการเริ่มต้นมาจากการผลิตปลากระป๋องชั้นดี ที่เป็นผลิตภัณฑ์ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ หลังจากนั้นจึงได้ขยายขนาดโรงงานมาในที่ปัจจุบันที่มีขนาดกว่า 100 ไร่ ทำให้ปุ้มปุ้ยสามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองอัตราความต้องการสินค้าของผู้บริโภคได้มากขึ้น นอกจากนี้ทางโรงงานปุ้มปุ้ยยังมีการคัดสรรวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และได้มีการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่แสนอร่อย มีคุณภาพ




หลังจากศึกษาดูงานที่บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) นักศึกษาได้เดินทางไป โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เพื่อเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ (Science Shows) โดยแบ่งฐานกิจกรรม 5 ฐาน ได้แก่ ฐานยิงหิน ฐานแมลงสั่น ฐานผลไม้ไม่ได้มีแค่อร่อย ฐาน Elephant Toothpaste และฐานโอมเพี้ยง Indicator ซึ่งเป็นกิจกรรมการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างแรงบันดาใจ และปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น และกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกิจกรรมเหล่านี้นักศึกษาจะได้แสดงความสามารถในการนำเสนอการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยการแสดง Science Show เเละพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมตลอดจนการแสดงออกอย่างเหมาะสม






ในวันที่ 9 ม.ค. 67 นักศึกษาได้ฟังบรรยายจาก คุณบรรจง นฤพรเมธี ประธานวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด เกี่ยวกับเรื่องความเป็นมาของบ่อหินฟาร์มสเตย์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งคุณบรรจง นฤพรเมธี ผันตัวจากการประกอบอาชีพประมง มาบุกเบิกการเพาะปลูกหญ้าทะเลในจังหวัดตรัง โดยมีจุดเปลี่ยนจากเหตุการณ์สึนามิที่ถล่มภาคใต้ของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ทำให้ชายฝั่งตรังได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งเรือและอุปกรณ์ทำกิน ไปจนถึงแหล่งปลาในทะเล การฟื้นฟูจึงต้องกลับไปตั้งต้นที่ระบบนิเวศ เพื่อให้ปลาได้กลับมาเติบโตในทะเลตรังได้อีกครั้ง โดยหญ้าทะเลเป็นพืชที่มีโครงสร้างเหมือนพืชบนบก ผ่านการวิวัฒนาการมายาวนานจนไปอยู่ใต้ทะเลได้ ทั่วโลกมีหญ้าทะเลอยู่มากมาย ส่วนในประเทศไทย หญ้าทะเลส่วนใหญ่จะขึ้นตามแนวชายฝั่งของทะเลฝั่งอันดามันมากกว่าฝั่งอ่าวไทย แต่ละจังหวัดก็มีชนิดหญ้าทะเลแตกต่างกัน ในจังหวัดตรังพบเจอแหล่งหญ้าทะเลที่มีความหลากหลายมากที่สุดถึง 13 ชนิดพันธุ์ ซึ่งหญ้าทะเลมีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าพืชบนบก ทำให้หญ้าทะเลเริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นมาในฐานะพระเอก ก็เมื่อคำว่า Blue Carbon หรือคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ในระบบนิเวศทางทะเล เป็นที่รับรู้และยอมรับกันมากขึ้นว่ามีบทบาทสำคัญ เนื่องจากมีระดับในการดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าป่าบก



หญ้าทะเลมีการสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยและไม่อาศัยเพศ อีกทั้งยังอ่อนไหวต่อสภาวะแวดล้อม โดยสภาวะแวดล้อมจะต้องเหมาะสมกับการเพาะปลูก ไม่งั้นอาจจะทำให้หญ้าทะเลมีโอกาสรอดได้น้อย คุณบรรจง นฤพรเมธี จึงได้บรรยายถึงวิธีการปลูกหญ้าทะเล ซึ่งการปลูกหญ้าทะเลนั้น ต้องรอให้น้ำทะเลลดต่ำลงก่อน แล้วจึงนำต้นกล้าหญ้าทะเลไป เพาะปลูกในบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ โดยการปลูกจะใช้ที่ขุด ในการขุดดินให้เป็นรูที่มีความลึกประมาณความสูงของแก้วกระดาษ แล้วนำแก้วกระดาษที่มีต้นกล้าหญ้าทะเลอยู่ลงไปปลูก หลังจากนั้นนำดินมากลบแต่ไม่กลบให้แน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศเข้าไปไม่ถึงต้นกล้า
หลังจากนั้นนักศึกษาได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนในคลองสิเกา ได้แวะชมบ่อน้ำร้อนที่อยู่ในบริเวณลำคลองป่าชายเลน ที่มีอุณหภูมิน้ำร้อนประมาณ 45 องศา เป็นบ่อน้ำร้อนเค็มแห่งเดียวในจังหวัดตรัง นอกจากนี้นักศึกษาได้ลง พื้นที่ไปช่วยกันปลูกหญ้าทะเล ได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงระบบนิเวศหญ้าทะเล ความสำคัญของแหล่งหญ้าทะเล รวมถึงการปลูกหญ้าทะเลเพื่อให้เป็นอาหารของพะยูน สัตว์ทะเลหายาก และให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้อาศัยหลบภัยเลี้ยงตัวอ่อน




ในวันที่ 10 ม.ค. 67 นักศึกษาได้ไปเรียนรู้การลงสีผ้าบาติก จาก “กลุ่มสตรีบาติกบ้านพรุจูด” โดยกระบวนการทำผ้าบ้าติกนั้น เริ่มจากการนำผ้ามาขึงให้ตึงกับโครงไม้ที่เตรียมไว้ จากนั้นก็จะใช้ไขเทียน ใส่ในหัวพู่กันสำหรับใส่ตัวไข เพื่อวาดลวดลายบนผ้าบาติกตามที่ต้องการ โดยหลังจากที่ทำการวาดเสร็จแล้ว ส่วนต่อไปคือการลงสีผ้าบาติก สีที่นำมาใช้สามารถใช้ได้ทั้งจากธรรมชาติและเคมี หลังจากทำการลงสีเสร็จ ให้นำผ้าไปตากแดดเพื่อให้สีแห้ง แล้วทำการต้มผ้าเพื่อให้สีที่ลงไว้นั้นติดคงทนอยู่บนเนื้อผ้า โดยกิจกรรมนี้นักศึกษาจะได้มาทดลองเขียนเทียนเป็นลวดลาย และได้ลงสีผ้าบาติกของตัวเอง
ซึ่งลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน นั่นก็คือ ลายครอบครัวพะยูน ซึ่งเป็นการตระหนักรู้ถึงภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ของสัตว์น้ำน่ารักประจำท้องทะเลตรัง ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัวแล้ว




หลังจากนั้นนักศึกษาได้เดินทางไป หมู่บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ฟังบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง ความเป็นมาของชุดกังหันน้ำคีรีวง โดยการนำพลังงานน้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราชมาใช้ภายในชุมชน และการพัฒนาชุดกังหันน้ำจากนักวิจัย มจธ. โดย คุณวิรัตน์ ตรีโชติ เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกังหันน้ำคีรีวง พร้อมทั้ง คุณวินัย คงธรรม และสมาชิกกลุ่มฯ โดยกังหันน้ำคีรีวง เดิมเริ่มมาจาก ลุงส่อง” หรือ นายส่อง บุญเฉลย แห่งบ้านคีรีวง เป็นคนแรกที่ลองผิดลองถูกในการประดิษฐ์กังหันน้ำแบบง่ายๆ จากแกนล้อรถจักรยานและกระป๋อง จากนั้นเพื่อนบ้านจึงได้เริ่มประดิษฐ์กังหันน้ำในแบบของตัวเองขึ้นมาเช่นกัน ด้วยเทคโนโลยีแบบชาวบ้าน แม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็นำไปใช้ประโยชน์ได้
ผศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยบูรณาการระบบพลังงานสะอาด สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหัวหน้าโครงการในการลงพื้นที่ชุมชนคีรีวง ใช้ระยะเวลา 4 ปีในการศึกษาสมรรถนะของนวัตกรรมกังหันน้ำท้องถิ่นคีรีวง พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างต้นแบบกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากประสิทธิภาพสูงออกมาหลายรุ่น โดยใช้เทคโนโลยีในประเทศที่ทุกคนเข้าถึงได้ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive Innovation)” ที่เป็นการพัฒนาโดยคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้ชื่อ “กังหันน้ำคีรีวง” จนได้ติดตั้งกังหันน้ำคีรีวงที่มีกำลังผลิต 1 กิโลวัตต์ ให้กับชุมชนคีรีวงเป็นครั้งแรกปี 2552 จากจุดเด่นสำคัญของกังหันน้ำคีรีวงที่มีขนาดเล็ก มีความทนทาน ใช้งานดูแลรักษาง่าย รวมถึงมีค่าประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นไฟฟ้าค่อนข้างสูง
ในช่วงเช้าของวันที่ 11 ม.ค. 67 นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน การใช้งานจริงของกังหันน้ำบนพื้นที่เทือกเขา โดยเรียนรู้และสอบถามการติดตั้งกังหันน้ำในขนำ (กระท่อมชาวสวนบนเทือกเขานครศรีธรรมราช) และการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากน้ำภายในชุมชน โดยซึ่งชาวบ้านที่นี่จะใช้ไฟฟ้าจากกังหันน้ำที่คนในหมู่บ้านผลิตขึ้นมาเองทั้งหมด ซึ่งถึงแม้จะมีการส่งเสริมกังหันน้ำ แต่ชุมชนควรมีกฎระเบียบของหมู่บ้านในการ ใช้น้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ไม่ให้กระทบแหล่งน้ำ สมดุลน้ำเพื่อป้องกันไฟป่า รักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เพื่อใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัญหาที่พบเจออื่น ๆ เช่น ถนนหนทางที่ชาวบ้านสร้างกันเองอาจเกิดอันตรายได้ อากาศชื้นตากผลผลิตไม่แห้ง ท่อน้ำอาจเกิดความเสียหายได้ เป็นต้น






หลังจากนั้นนักศึกษาได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน โรงงานไทยทาโลว์ แอนด์ ออยล์ จำกัด ศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มดิบจากทุกส่วนประกอบของผลปาล์ม ปาล์มน้ำมันที่นำมาผลิต ส่วนใหญ่เป็นผลปาล์มสดจากสวนเกษตรกรในพื้นที่ส่งเข้าสู่โรงงานโดยตรง เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มที่มีคุณภาพ โดยนักศึกษาจะเห็นขั้นตอนการแปรรูป การควบคุมการผลิตทุกกระบวนการ และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อคงไว้ซึ่งเพื่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในทุกกระบวนการ
ในวันที่ 12 ม.ค. 67 ศึกษาดูงาน ณ บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมสามารถผลิตได้ตลอดระยะเวลาที่มีลมพัดอย่างเพียงพอ และมีการจัดทำโครงการหาดกังหัน โดยมีการติดตั้งกังหันลมตลอดแนวชายฝั่งครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ 2 จังหวัด ได้แก่ อ.ระโนด จ.สงขลา อ.ปากพนัง และ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งทั้งโครงการย่อยทั้ง 3 โครงการ มีขนาดกำลังการผลิตรวม 126 เมกะวัตต์ นอกจากนี้การติดตั้งแนวการจัดวางกังหันลม เรียงราย เกิดทัศนียภาพที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ ทำให้เกิดการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ในบริเวณที่ตั้งโครงการ และบริเวณใกล้เคียง





จากการลงพื้นที่และศึกษาดูงานในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบริเวณชายฝั่งแล้ว นอกจากนี้ นักศึกษายังได้ฟังบรรยายและเรียนรู้จากผศ. ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ เรื่อง Climate Gases (GHG) ได้ความรู้เกี่ยวกับก็าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศผ่านการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน) ขยะมูลฝอย ต้นไม้ และวัสดุชีวภาพอื่นๆ และยังเป็นผลจากปฏิกิริยาเคมีบางอย่าง (เช่น การผลิตซีเมนต์) คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกกำจัดออกจากชั้นบรรยากาศ หรือกักเก็บ เมื่อถูกพืชดูดซับเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรคาร์บอนทางชีวภาพ, มีเทน ถูกปล่อยออกมาในระหว่างการผลิตและขนส่งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน การปล่อยมีเทนยังเกิดจากปศุสัตว์และแนวทางการเกษตรอื่นๆ การใช้ที่ดิน และการสลายตัวของขยะอินทรีย์ในหลุมฝังกลบขยะมูลฝอยของเทศบาล, ไนตรัสออกไซด์ โดยถูกปล่อยออกมาในระหว่างกิจกรรมทางการเกษตร การใช้ที่ดิน และอุตสาหกรรม การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและของเสียแข็ง ตลอดจนในระหว่างการบำบัดน้ำเสีย, สารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน เป็นก๊าซเรือนกระจกสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพซึ่งปล่อยออกมาจากการใช้งานและกระบวนการต่างๆ ในครัวเรือน เชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม, ก๊าซฟลูออรีน (โดยเฉพาะไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) มักใช้แทนสารที่ทำลายโอโซน ในชั้นสตราโตสเฟียร์ (เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน และฮาลอน) ก๊าซฟลูออรีนมักถูกปล่อยออกมาในปริมาณที่น้อยกว่าก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น แต่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพ โดยก๊าซเหล่านี้ มักมีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWP) อยู่ที่หลายพันถึงหลายหมื่น จึงมักเรียกก๊าซเหล่านี้ว่าก๊าซที่มีค่า GWP สูง เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากมวลที่กำหนด ก๊าซเหล่านี้สามารถดักจับความร้อนได้มากกว่า CO2 อย่างมาก, โอโซน และไอน้ำ
เรื่อง Carbon Capture and Storage (CCS) ได้ความรูเกี่ยวกับการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นกระบวนการที่กระแสก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์จากแหล่งอุตสาหกรรมจะถูกแยก บําบัด และขนส่งไปยังสถานที่จัดเก็บในระยะยาว การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ มีด้วยกัน 3 แบบคือ Post-Combustion มีกระบวนการทำง่าย แต่มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นวิธีการที่ควรนําไปใช้มากที่สุด, Pre-Combustion เป็นการเปลี่ยนรูปเชื้อเพลิงให้กลายเป็นไฮโดรเจน (H) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยหลังจากทำการปรับคุณสมบัติให้เหมาะสมแล้วจึงทำการแยก CO2 ออก เพื่อนำไปกักเก็บหรือใช้ต่อ และ Oxy-Fuel เป็นการใช้หัวเผาแบบ Oxy-Fuel (Oxy-Fuel Fired Burner) ซึ่งเป็นหัวเผาที่ใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ (Combustion) ได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถลดปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้แบบทั่วไป กระบวนการส่งคาร์บอนไดออกไซด์ มีด้วยกันหลายแบบ เช่น การส่งผ่าน pipeline ,sea freight (เป็นวิธีที่นิยมในต่างประเทศ) ,truck ,train แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ มีทั้งหมด 4 แหล่งคือ Aquifer (หลุมใต้นํ้า), Gas or Oil Fields (เป็นวิธีการที่นิยมในประเทศไทย คือ หลุมนํ้ามันดิบหรือแก๊สธรรมชาติเช่น ที่ลานกระบือ จะใช้วิธีการอัดแก๊สออกซิเจนเข้าไปในหลุมเก่าเพื่อไล่นํ้ามันให้ขึ้นมา) และ Coal Seams
เรื่อง Renewable Energy ได้ความรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนคือพลังงานที่ได้มาจากแหล่งธรรมชาติซึ่งถูกเติมเต็มในอัตราที่สูงกว่าที่ใช้ไป เช่นแสงแดดและลมเป็นแหล่งที่มีการเติมเต็มอย่างต่อเนื่อง แหล่งพลังงานหมุนเวียนมีอยู่มากมายรอบตัวเรา ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ พลังงานลม เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิความกดดันของบรรยากาศ และแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกําลังลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อน ซึ่งถูกกักเก็บอยู่ภายใต้พื้นผิวโลก ไฟฟ้าพลังนํ้า คือ ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังนํ้า โดยใช้พลังงานจลน์ของนํ้าซึ่งเกิดจากการปล่อยนํ้าจากที่สูงหรือการไหลของนํ้า หรือการขึ้น-ลงของคลื่น ไปหมุนกังหันนํ้าและเครื่องกําเนิดไฟฟ้า พลังงานมหาสมุทร คือ พลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นจากนํ้าทะเลในมหาสมุทร ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากการเคลื่อนไหวของกระแสนํ้าหรือจากความแตกต่างของอุณหภูมิ และความเค็มของนํ้าทะเล พลังงานชีวภาพ คือ พลังงานเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายวัสดุทางชีวภาพด้วยการอาศัยแบคทีเรียภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) จนเกิด เป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) ซึ่งในการเลือกมานําไปใช้จะขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ โดยเลือกใช้ตามศักยภาพและความต้องการ